200 ปีของเส้นทางศิลปะไทย

ขอเชิญชมงานแสดง “200 years Journey Through Thai Modern Art history” จัดแสดงตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2025 ที่ ท่าเรือพิพิธภัณฑ์ ท่าน้ำท่าช้าง กรุงเทพฯ

ท่าพิพิธภัณฑ์ MUSEUM PIER

 The newest Art Museum on the bank of Chao Phraya River in the heart of Bangkok. Located on the 3-story building in ‘THAACHANG WANGLUANG’. Tha Chang Pier (N9) and the Grand Palace are only few steps away. Open daily from 09.00 – 17.00 hrs.
พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งใหม่ล่าสุดบนพื้นที่ประวัติศาสตร์ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ณ ใจกลางกรุงรัตนโกสินทร์​ ตั้งอยู่บนตึก 3 ชั้น ในโครงการ “ท่าช้าง วังหลวง”ติดกับท่าเรือท่าช้าง (N9) ห่างจากวัดพระแก้วและพระบรมมหาราชวังเพียงข้ามฝั่งถนน เปิดให้บริการทุกวัน ระหว่างเวลา 09.00-17.00 น.

คุณกรกมล และ คุณพิริยะ วัชจิตพันธ์ กำลังพูดกล่าวต้อนรับสื่อมวลและพาชมงาน

นิทรรศการ 200 YEARS JOURNEY THROUGH THAI MODERN ART HISTORY เกิดขึ้นจากความรักในการรวบรวมผลงานศิลปะของ กรกมล และ พิริยะ วัชจิตพันธ์ ซึ่งเริ่มต้นขึ้นใน พ.ศ. 2556 เพื่อค้นหาภาพวาดฝีมือศิลปินไทยที่มีชื่อเสียงมาประดับพื้นที่ว่างบนกำแพงในคอนโด การสะสมรวบรวมอย่างจริงจังได้เริ่มต้นขึ้นหลังจากนั้นจากการค้นคว้าหาข้อมูลในหนังสือ ทำความรู้จักกับศิลปิน ไปเลือกซื้อผลงานศิลปะจากแกลเลอรี ไปประมูล และขอแบ่งจากผู้รู้และนักสะสมที่เมตตา หรือแม้กระทั่งไปตามหาผลงานของศิลปินไทยที่ตกหล่นซ่อนเร้นอยู่ในต่างประเทศ ซึ่งทำให้จำนวนผลงานศิลปะของทั้งสองเริ่มเพิ่มพูนจนเกินกำแพงที่มีไปมาก

ภาพปริศนาธรรมของ ขรัวอินโข่ง

กรกมล และ พิริยะ ได้ตั้งเป้าหมายในการรวบรวมเพื่อปะติดปะต่อและร้อยเรียงผลงานศิลปะสะสมของทั้งคู่ให้เกิดภาพรวมที่ชัดเจนของหน้าประวัติศาสตร์ศิลปะไทย ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญเมื่อราว 200 ปีที่ผ่านมา นิทรรศการนี้ จัดแสดงผลงานสะสมระดับประเทศที่ทรงคุณค่าและหาชมได้ยากกว่า 100 ผลงาน เริ่มจากผลงานของศิลปินไทยรุ่นบุกเบิกอย่าง ขรัวอินโข่ง ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงศิลปินรุ่นใหม่ อาทิ Alex Face Gongkan Molly (Crybaby) และ Mr. Kreme รวมถึงผลงานที่เป็นไฮไลต์ของศิลปินระดับบิ๊กเนม เช่น ถวัลย์ ดัชนี จักรพันธุ์ โปษยกฤต และมณเฑียร บุญมา ที่ร้อยเรียงเรื่องราวของประวัติศาสตร์ศิลปะไทยในช่วง 200 ปี ผ่านผลงานศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัยของไทย

ผลงาน ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินไทยที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ

โดยแบ่งออกเป็นโซนตามยุคสมัยและการคลี่คลายที่มีการเปลี่ยนแปลงจากตอนต้นของกรุงรัตนโกสิสินทร์จนถึงปัจจุบัน เริ่มจาก การเคลื่อนสู่ปฐมบทศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทย-อิทธิพลตะวันตกต่องานศิลปะในราชสำนักสยาม-ศาสตราจารย์ ศิลป พีระศรี บิดาและผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร-ศิลปากร : กรม มหาวิทยาลัย และการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ-ศิลปะแนวเหมือนจริง หรือศิลปะสัจนิยม-ความเป็นไทยกับความเป็นสมัยใหม่-ศิลปะไทยสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่-ศิลปะร่วมสมัย

ท่าพิพิธภัณฑ์ MUSEUM PIER

ภาพส่วนหนึ่งที่จัดแสดงในงาน